จากข่าวที่เกิดขึ้นในสังคมตอนนี้ เกี่ยวกับเรื่องราวของเด็กๆที่ถูกคุณครูทารุณกรรมที่โรงเรียน ตอนนี้กำลังเป็นที่จับตามองอย่างยิ่ง แต่บทความนี้จะไม่เอ่ยถึงเรื่องดราม่าที่เกิดขึ้น แต่จะมาบอกถึงวิธีเตรียมตัวรับมือและการเตรียมตัวลูก ให้พร้อมที่จะเริ่มเรียน มีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
ขอเกริ่นเล็กน้อยก่อนนะคะ ก่อนที่ลูกจะเข้าโรงเรียน เราต้องสร้างความพร้อมในหลายๆด้านให้ลูกก่อน
- พัฒนาการ ทางด้านร่างกาย
– กล้ามเนื้อมัดเล็ก คือ การหยิบจับ ,การขยำ ,การปั้น ,การกด ,การนวด
– กล้ามเนื้อมัดใหญ่ คือ ลำตัว ,แขน ,ขา รวมไปถึงความสัมพันธ์ของอวัยวะต่างๆ เช่น การวิ่ง , การเดิน , การทรงตัว
– การประสานงานของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อในการทำงาน คือ การทำงานของกล้ามเนื้อ แขน ขา ลำตัว และกล้ามเนื้อการหายใจ ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างสัมพันธ์กัน
การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย ง่ายๆเลยค่ะ คือ การเล่น
เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดี ต้องผ่านการเล่น การออกกำลังกาย การวิ่งเล่น การปีนป่าย การที่เด็กได้ออกกำลังโดยใช้ร่างกาย ใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดียิ่งขึ้น การที่เรากลัวลูกวิ่งเร็วแล้วหกล้ม คุณพ่อคุณแม่ไม่ผิดนะคะที่จะเป็นห่วง แต่ที่เราเห็นเด็กๆวิ่งเล่นกัน ชอบปีนป่าย คือเป็นธรรมชาติของเด็กที่ต้องเติมเต็มพัฒนาการทางด้านร่างกายด้วยการเล่น
- ระบบการรับความรู้สึกทั้ง 7 senseหรือ Si (Sensory Integration)
– ระบบการรับกลิ่น การดมกลิ่น (Olfactory)
ความสามารถในการแยกแยะ กลิ่นว่าหอมหรือไม่หอม เมื่อได้กลิ่นต้องมีการแปลผลว่า รู้สึกอย่างไร มีความสดชื่อ หรือปวดหัว เวียนหัว ฉุน อาเจียน และกลิ่นยังเตือนได้ถึงสัญญาณอันตราย เช่น ได้กลิ่นแก๊สรั่ว กลิ่นควันไฟไหม้
เด็กควรที่จะรับรู้ได้ถึงกลิ่น และสามารถบอกได้ว่าเป็นกลิ่นอะไร กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น กลิ่นเค็มๆ กลิ่นเปรี้ยว ฯลฯ แล้วเด็กๆจะรู้ได้อย่างไร แน่นอนค่ะ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นคุณครูคอยสอนให้เด็กๆได้รู้ถึงเรื่องของกลิ่น ผ่านการเล่น การปฏิบัติจริงจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เข้าใจง่ายมากขึ้นค่ะ เช่น ให้เด็กดมกลิ่นดอกไม้ที่หอม หรือให้เด็กดมกลิ่นกะปิ แล้วให้เด็กได้รู้ถึงความแตกต่างของกลิ่น ว่าอันไหนเรียกเหม็น อันไหนเรียกหอม
– การรับรู้รสชาด (Gustatory)
ช่วยเด็กรับรู้และรู้จักรสชาติของอาหาร หรือของที่นำเข้าปาก โดยพื้นฐานเด็กๆควรจะต้องรู้ถึงรส หวาน ขม เปรี้ยว เค็ม เผ็ด และสามารถแยกแยะได้
– การสัมผัส (Tactile)
รับสิ่งเร้าความรู้สึกผ่านผิวหนัง พัฒนาการของระบบรับสัมผัสเกิดก่อนระบบอื่นๆ
ทำให้เกิดการสร้างสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก
ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย อบอุ่น
สัมพันธ์กับพฤติกรรมและการแสดงออกทางอารมณ์ของคน
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา การดูด การรับประทานอาหาร
– การรับรู้การเคลื่นไหวผ่านตัวรับความรู้สึกในหูชั้นใน (Vestibular)
รับรู้การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของศีรษะ
รักษาสมดุลของร่างกายเมื่อมีการเคลื่อนไหว
ช่วยป้องกันร่างกายเมื่อเวลาล้ม
ระบบกำหนดทิศทางและการตอบสนองของร่างกายเพื่อให้ทำกิจกรรมได้อย่างราบรื่น
อวัยวะรับความรู้สึกหูชั้นใน
ปรับการควบคุมของตา, การเคลื่อนไหวท่าทางของร่างกาย , ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ถ้าพูดเป็นทางการอาจจะเข้าใจยากนิดนึงค่ะ งั้นเอาแบบไม่ทางการแล้วกันนะคะ นั่นคือ เรื่องการทรงตัว เช่น การเดินบนไม้กระดานแผ่นเดียว การปั่นจักรยาน , ความสัมพันธ์ของร่างกาย เช่น เวลาเดินแขนกับขาจะทำหน้าที่สัมพันธ์กันอย่างดี , การนั่งเล่นชิงช้า ขาและลำตัวต้องใช้แรงเหวี่ยงในการทำให้ชิงช้าเคลื่อนที่โยกไปมา
– การรับรู้ถึงร่างกายตนเองขณะเคลื่อนไหว (Prorioception)
ระบบกล้ามเนื้อ เอ็นและข้อต่อ ทำให้เกิดการรับรู้ การเคลื่อนไหวต่างๆที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น เราสามารถงอขาโดยที่สามารถรับรู้ได้โดยไม่ต้องมองก็สามารถรับรู้ได้ว่าขากำลังงอ ช่วยให้ร่างกายรับรู้ความสัมพันธ์ระกว่างร่างกายกับที่ว่างหรือวัตถุอื่นที่อยู่รอบตัว
ช่วยกะแรง กะระยะ ในการทำกิจกรรม เช่น การอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ
ทักษะการคิดและวางแผนการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อน
– ระบบการได้ยิน (Auditory)
ช่วยให้เรารับรู้ แยกแยะเสียงต่างๆได้ว่าคือเสียงอะไร
มีความสามารถที่เข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูดได้เข้าใจ
แสดงความรู้สึกออกมาเมื่อได้ยินเสียงต่างๆ รู้ว่าเสียงไหนเป็นสัญญาณเตือนว่าอันตราย
– การมองเห็น (Vitual)
แยกแยะความเหมือน หรือ แตกต่างของภาพที่มอง
ความสามารถการมองตามวัตถุเคลื่อนไหว
การจดจำภาพ ตัวเลข รูปทรงต่างๆ ผ่านการมองเห็น
การช่วยเหลือตอนเอง
การช่วยเหลือตอนเองเบื้องต้น
1. เด็กต้องสามารถบอกความต้องการได้ บอกความรู้สึกของตนเองได้
2. การดูแลความสะอาดตอนเข้าห้องน้ำ
3. การใส่เสื้อผ้าด้วยตนเอง
4. การอาบน้ำด้วยตนเอง
5. กินอาหารด้วยตนเอง